한국어와 태국어의 신체관용표현 대조 연구 : 정보성을 중심으로 [韩语论文]

资料分类免费韩语论文 责任编辑:金一助教更新时间:2017-04-27
提示:本资料为网络收集免费论文,存在不完整性。建议下载本站其它完整的收费论文。使用可通过查重系统的论文,才是您毕业的保障。

ในการกำหนดคำที่ตรงกัน(counterpart)ในภาษาไทยของสำนวนที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในภ...

ในการกำหนดคำที่ตรงกัน(counterpart)ในภาษาไทยของสำนวนที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในภาษา เกาหลี ความแตกต่างระหว่างภาษาส่งผลกระทบต่อรูปแบบของคำที่ตรงกันในภาษาไทย ความโปร่งใสของข้อความ(informativity) หมายถึง ความแปลกใหม่และความยากในการคาดเดาความหมายของข้อความอันนำไปสู่ความพยา ยามใช้ความสามารถด้านปริชานในการทำความเข้าใจความหมายของข้อความและในขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มความ น่าสนใจของข้อความได้ด้วย สำนวน เป็นข้อความประเภทที่มีความโปร่งใสของข้อความอยู่ในตนเองสูง ดังนั้น เพื่อรักษาความโปร่งใสของข้อความรูปแบบสำนวน จึงควรกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยของสำนวนภาษาเกาหลีในรูปแบบ สำนวน ในขณะเดียวกัน ควรพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างสองภาษาที่อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อรูป แบบของคำที่ตรงกันในภาษาไทยด้วย งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดคำที่ตรงกันใน ภาษาไทยเมื่อแปลสำนวนที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในภาษาเกาหลีโดยยึดการคงความโปร่งใสของข้อ ความเป็นสำคัญ และเพื่อจำแนกประเภทรูปแบบของคำที่ตรงกันในภาษาไทยเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนสำนวนภาษาเกาหลีแก่ผู้เรียนไทยต่อไป ในการนี้ ผู้วิจัยได้นำสำนวนที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในภาษาเกาหลีที่ รวบรวมมาจากฐานข้อมูลพจนานุกรมภาษาเกาหลีที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติซึ่งจัดทำโดยสถาบันภาษา เกาหลีแห่งชาติเกาหลีทั้งหมด 789 สำนวนอันประกอบด้วยสำนวนที่ประกอบด้วยอวัยวะภายนอกร่างกาย 74 ส่วน และอวัยวะภายในร่างกาย 21 ส่วนมาวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบสำนวนในทั้งสองภาษา ผู้วิจัยได้ใช้พจนานุกรม ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(CTEC) ในการค้นหาสำนวนไทยที่ตรงกับสำนวนภาษาเกาหลี จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยแบ่งประเภทสำนวนเป็น 1.สำนวนที่แสดงความรู้สึกนึกคิด และ 2.สำนวนที่แสดงการกระทำ สถานการณ์และสภาพ และจำแนกสำนวนแต่ละประเภทออกเป็นประเภทย่อยอีก ได้แก่ 1.ความหมายแง่บวก 2.ความหมายกลาง ๆ 3.ความหมายแง่ลบ โดยสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ ได้ ดังต่อไปนี้
1. มีสำนวนที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในภาษาเกาหลีเป็นจำนวนมากที่สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภา ษาไทยในรูปแบบสำนวนได้ ลักษณะดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะร่วมของภาษาเกาหลีและภาษาไทยที่มีการแสดงความคิดและมโนคติต่าง ๆ ในรูปแบบสำนวน ซึ่งสำนวนเหล่านี้จะนำไปสู่การรักษาความโปร่งใสของข้อความอันนำไปสู่การเรียนรู้สำนวนภาษาที่สนุกสนานเนื่องจากการคาดเดาความหมายขององค์ประกอบที่อยู่ในสำนวน
2. สำนวนที่สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบสำนวนได้สามารถแบ่งออกเป็น “ชนิดพ้องคำพ้องความหมาย" และ “ชนิดไม่พ้องคำแต่พ้องความหมาย" ได้ สำนวนที่สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบ “ชนิดพ้องคำพ้องความหมาย"ได้สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยโดยคงความคิดและมโนคติต่าง ๆ ของชาว เกาหลีที่บรรจุอยู่ในสำนวนเอาไว้ดังเดิม ในขณะที่ “ชนิดไม่พ้องคำแต่พ้องความหมาย" ไม่สามารถคงความคิดและมโนคติต่าง ๆ ดังกล่าวไว้ได้ รูปแบบการกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทย “ชนิดไม่พ้องคำแต่พ้องความหมาย" พบมากที่ สุดจากการศึกษานี้
3. สำนวนที่สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบ “ชนิดไม่พ้องคำแต่พ้องความหมาย" สามารถจำแนก ออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสำนวนเมื่อกำหนดคำที่ตรงกันในภา ษาไทย
4. สำนวนที่สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบ “ชนิดไม่พ้องคำแต่พ้องความหมาย" มีรูปแบบ "แทนที่ด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะ" และ “แทนที่ด้วยภาคแสดง" ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการศึกษา พบว่า “ชนิดไม่พ้องคำแต่พ้องความหมาย" ประกอบด้วยการแทนที่คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ในสำนวนภาษา เกาหลีด้วยคำว่า “หัวใจ" เมื่อกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยได้
5. จากการศึกษา ไม่พบสำนวนที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะในร่างกายภาษาเกาหลีประเภทแสดงความรู้สึกนึกคิดที่ไม่สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบสำนวน แต่พบในสำนวนที่แสดงกริยา สถานการณ์และ สภาพ ซึ่งลักษณะนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างภาษาเกาหลีและภาษาไทยในการแสดงความคิดและมโนคติ ต่าง ๆ ในรูปแบบสำนวน สำนวนภาษาเกาหลีที่ไม่สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบสำนวนได้ จะนำ ไปสู่ความโปร่งใสของข้อความที่ลดลง(informativity downgrading)
6. พบสำนวนที่แสดงความหมายแง่ลบในรูปแบบคงความโปร่งใสของข้อความมากกว่าสำนวนที่แสดงความหมายกลาง ๆ และแง่บวก ในขณะที่สำนวนที่แสดงความรู้สึกนึกคิดสามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบสำนวนได้ทั้งหมด
7. ในการกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยโดยคำนึงถึงการคงความโปร่งใสของข้อความ ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างภาษาไทยและภาษาเกาหลีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมุ่งเน้นการกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยโดยคำนึงถึง เพียงการรักษาโครงสร้างเดิมของสำนวนภาษาเกาหลีเอาไว้อาจนำไปสู่การเรียนรู้ภาษาเกาหลีที่ผิดพลาดได้ จากการศึกษา พบรูปแบบ กำหนดคำที่ตรงกันชนิด “พ้องรูปแต่ไม่พ้องความหมาย"ด้วย สำนวนประเภทนี้นำไปสู่การถูกรบกวน โดยภาษาแม่ได้ง่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยที่แน่นอน
8. การมีหรือไม่มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะที่ปรากฏในสำนวนภาษาเกาหลีหรือไม่ในภาษาไทยเป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งของการกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทย กรณีที่ไม่พบคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะที่ตรงกัน คุณสมบัติ(attribute)ของคำศัพท์จะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยในรูปแบบสำนวนได้ซึ่งคงความโปร่งใส ของข้อความเอาไว้ได้ จากการศึกษา พบว่าสามารถหาคำที่ตรงกันในภาษาไทยของสำนวนภาษาเกาหลีที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะ ‘อวัยวะภายในทั้ง 5’ ‘ส่วนหัวตรงบริเวณลำคอ’ และ ‘สีข้างหรือปีก’ ได้โดยการใช้คุณสมบัติ ของคำศัพท์ และโดยการใช้คุณสมบัติของคำศัพท์นี้ สามารถกำหนดคำที่ตรงกันในภาษาไทยของสำนวนภาษาเกาหลีที่ประกอบด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอวัยวะส่วนใหญ่ได้

免费论文题目: