태국인의 한국어 학습에 관한 연구 : 태국 수도권을 중심으로 (2)[韩语论文]

资料分类免费韩语论文 责任编辑:金一助教更新时间:2017-04-28
提示:本资料为网络收集免费论文,存在不完整性。建议下载本站其它完整的收费论文。使用可通过查重系统的论文,才是您毕业的保障。

“กระแสนิยมเกาหลี” หรือ Korean Wave ในภาษาเกาหลีเรียกว่า "Hallyu" หมายถึง กระแสความนิยมเกาหลีซึ่งเป็นปรากฏการณ์การถ่ายทอดวัฒนธรรมเกาหลีผ่านทางละคร ภาพยนตร์ เพลงและเกมส์ออนไลน์ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ไม่กี่ปีมานี้เริ่มมีกระแสนิยมเกาหลีเพิ่มขึ้นในหมู่นักเรียนไทย ส่งผลให้จำนวนนักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีทั้งในมหาวิทยาลัยและสถาบันภาษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการเรียนการสอนภาษาเกาหลีเพื่อพัฒนาการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย อีกทั้งยังวิเคราะห์หาสาเหตุของการเลือกเรียนภาษาเกาหลีของนักเรียนไทยอีกด้วย วิทยานิพนธ์เล่มนี้ประกอบด้วยห้าบท ดังนี้ บทที่หนึ่งกล่าวถึงที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ในการวิจัย ขอบเขตในการวิจัย และ การทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยสำรวจข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลจากนักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอกในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรและมหาวิทยาลัยบูรพาจำนวนทั้งสิ้น 200 คน และนักเรียนที่ไม่ได้เรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันภาษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันภาษาทองอินทร์โฟนจำนวนทั้งสิ้น 200 คน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังดำเนินการสัมภาษณ์นักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีโดยตรงเกี่ยวกับเหตุผลที่เลือกตอบแบบสอบถามในแต่ละข้อเพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
บทที่สองกล่าวถึงประวัติการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย การเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529 หรือกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 7 แห่งเปิดสอนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอก และอีกประมาณ 19-20 แห่งที่มีการสอนภาษาเกาหลีในมหาวิทยาลัย ในส่วนที่สองนี้มีการวิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนแรก คือ “สาเหตุใดที่ทำให้ท่านเลือกเรียนภาษาเกาหลี” แบบสอบถามในส่วนนี้ผู้เรียนจะต้องเลือกตอบเพียงหนึ่งข้อเท่านั้น จากนั้นจึงนำคำตอบที่ได้จากนักเรียนทั้งหมด 400 คนมาคำนวณร้อยละ โดยทำตารางเปรียบเทียบค่าระหว่างนักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอกกับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอก จากนั้นมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่นักเรียนไทยเลือกเรียนภาษาเกาหลี ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอก มีจุดประสงค์หลักเพื่อนำภาษาไปใช้ในการประกอบอาชีพ ส่วนนักเรียนที่ไม่ได้เรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอกเลือกเรียนภาษาเกาหลี ด้วยเหตุผลจากความชอบส่วนตัวหรืออิทธิพลของวัฒนธรรม สื่อบันเทิงเกาหลีเป็นหลัก
บทที่สามเป็นการนำแบบสอบถามในส่วนที่สอง “ปัญหาที่พบจากการเรียนภาษาเกาหลีในประเทศไทย” มาแจกแจงออกเป็นแผนภูมิแท่งห้าแท่งตามความถี่ ดังนี้ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วย เฉยๆ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ผู้วิจัยได้แบ่งปัญหาหลักๆ ที่พบหลังจากการสำรวจแบบสอบถามออกเป็นสามปัญหา คือ ปัญหาจากตัวผู้สอน ปัญหาจากตัวผู้เรียน และปัญหาจากสื่อการสอนภาษาเกาหลี
บทที่สี่นำเสนอถึงปัญหาที่พบข้างต้นมาวิเคราะห์หาสาเหตุและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนภาษาเกาหลี ซึ่งเนื้อหาในบทที่สี่จะวิเคราะห์เฉพาะปัญหาที่พบจากการสำรวจแบบสอบถาม ดังนี้
1. ผู้สอนชาวไทยออกเสียงไม่ชัดเจนเหมือนเจ้าของภาษา
2. การขาดแคลนผู้สอนชาวไทยและชาวเกาหลี และผู้สอนชาวไทยที่มีประสบการณ์การใช้ชีวิตที่เกาหลี
3. ผู้สอนเป็นคนเกาหลี แต่ไม่ได้จบด้านการสอนภาษาเกาหลีทำให้อธิบายได้ไม่ดีพอ
4. ผู้สอนไม่สามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างคล่องตัว เพราะขาดทักษะการใช้ภาษาไทย
5. การขาดแคลนตำราเรียนที่อธิบายด้วยภาษาไทย ตำราเรียนหรือเอกสารอ้างอิง ในกรณีที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม หนังสือสำหรับวัดระดับภาษาเกาหลีด้วยตนเอง และการขาดแคลนเทป ซีดีสำหรับฝึกทักษะการฟังภาษาเกาหลี
6. โครงสร้างทางไวยากรณ์ไทยและเกาหลีแตกต่างกันทำให้เกิดความสับสนในการใช้ ภาษาเกาหลีมีการใช้คำแสดงสถานะทางสังคมของผู้พูดและผู้ฟังที่ซับซ้อนมาก ตัวอักษรจีนยากสำหรับผู้เรียนภาษาเกาหลีที่ไม่มีความรู้ด้านตัวอักษรจีน พยัญชนะต้นออกเสียงยาก และกฏการเปลี่ยนเสียงตัวสะกดยาก
7. การขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อในเกาหลี ทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับอื่นๆ รวมทั้งทุนเรียนภาษาที่เกาหลีมีน้อย และค่าเล่าเรียนในสถาบันภาษาหรือระดับมหาวิทยาลัยในเกาหลีแพงเกินไปสำหรับคนไทย
ส่วนบทที่ห้าเป็นการสรุปผลการศึกษาครั้งนี้และเสนอแนวโน้มการเรียนการสอนภาษาเกาหลีของประเทศไทยในอนาคต ผู้วิจัยมีความเห็นว่ากระแสนิยมเกาหลีและการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทยจะยังได้รับความนิยมต่อไป ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวไทยสามารถปรับตัวและเปิดรับวัฒนธรรมต่างๆได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้อิทธิพลจากละคร ภาพยนตร์ ดารา นักร้อง เพลง เกมส์ออนไลน์ รวมทั้งสินค้าต่างๆที่ผลิตจากประเทศเกาหลีส่งผลให้กระแสนิยมเกาหลีหลั่งไหลเข้ามาประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยคาดว่าสิ่งเหล่านี้จะยังคงได้รับความนิยมเรื่อยๆ และจะมีอิทธิพลกับการเรียนการสอนภาษาเกาหลี อีกทั้งทางรัฐบาลเกาหลียังมีโครงการที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย ดังนั้นคลื่นความนิยมเกาหลีดังที่กล่าวมานั้นมิได้เป็นเพียงกระแสความนิยมชั่วคราว แต่จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปในภายหน้า ดังที่เห็นได้จากการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งพัฒนาความสำคัญจากวิชาเลือกเป็นวิชาโท และจากวิชาโทเป็นวิชาเอก สุดท้ายนี้ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจกระแสนิยมเกาหลีและการเรียนการสอนภาษาเกาหลี รวมไปถึงการหาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเท

韩语论文网站韩语论文
免费论文题目: