한국의 태국 불교사원을 통해 본 초국가주의 [韩语论文]

资料分类免费韩语论文 责任编辑:金一助教更新时间:2017-04-28
提示:本资料为网络收集免费论文,存在不完整性。建议下载本站其它完整的收费论文。使用可通过查重系统的论文,才是您毕业的保障。

한국태국 불교사원을 통해 본 초국가주의 ทฤษฎีลักษณะข้ามชาติเกิดขึ้น&...

한국태국 불교사원을 통해 본 초국가주의 ทฤษฎีลักษณะข้ามชาติเกิดขึ้นจากการศึกษาการย้ายถิ่นฐานในยุค 2533 (ค.ศ. 1990) ถึงแม้ช่วงแรกของการเกิดทฤษฎีนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ขาดความแปลกใหม่ ความหมายคลุมเครือ หรือวิธีการศึกษาค้นคว้าค่อนข้างมีความจำกัดก็ตาม แต่ก็ยังได้รับการพัฒนามาตลอด โดยถูกนำไป ประยุกต์ใช้ในการศึกษาแขนงต่างๆ รวมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และศาสนา ทั้งนี้ในงานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาลักษณะข้ามชาติที่ได้ปรากฏผ่านวัดไทยในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ วัดพุทธรังษีในเมืองฮวาซ็อง วัดธรรมเจติยารามในเมืองฮันซัน และวัดภาวนาในเมืองยังจู ของจังหวัดคยองคี ซึ่งวัดไทยในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเหล่านี้ ถูกก่อสร้างก่อนและหลัง ปี 2556 (ค.ศ. 2013) ในการนี้ผู้ดำเนินงานวิจัยคาดว่า การสร้างวัดไทยในต่างประเทศนั้น คงจะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จึงพยายามศึกษาค้นคว้าว่าใครเป็นผู้วางแผนและก่อตั้งวัดไทยในต่างประเทศด้วยเหตุใด พร้อมทั้ง ศึกษาค้นคว้าลักษณะข้ามชาติพิเศษที่แตกต่างกับทฤษฎีลักษณะข้ามชาติดั้งเดิมที่เคยยืนหยัดไว้ เพื่อต่อยอดทฤษฎีลักษณะข้ามชาติ เนื่องจากงานวิจัยทฤษฎีลักษณะข้ามชาติที่ผ่านมาลงภาคสนามในทวีปอเมริกาและยุโรป และมักใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและกรณีศึกษาโดยส่วนใหญ่ แต่การศึกษากรณีย้ายถิ่นฐานใน ทวีปเอเชียด้วยกันนั้น ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไร เพราะฉะนั้นในงานวิจัยนี้ ผู้ดำเนินวิจัยจึงเลือกกรณี ที่ย้ายมาจากไทย แล้วมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในสาธารณรัฐเกาหลี และใช้วิธีการศึกษาแบบผสม ระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ไม่เพียงเท่านั้นงานวิจัยทฤษฎีลักษณะข้ามชาติดั้งเดิมมัก ให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของผู้ย้ายถิ่นฐาน ซึ่งพยายามจะอธิบายปรากฏการณ์ลักษณะข้ามชาติ จากด้านล่าง แต่ในงานวิจัยนี้พยายามจะศึกษาค้นคว้าปรากฏการณ์ ลักษณะข้ามชาติโดยรวม โดยศึกษา บทบาทหน้าที่ของทั้งหน่วยงานภาครัฐของไทย วัดไทยในเกาหลี และกลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานพร้อมกันไปด้วย จากผลการศึกษาค้นคว้างานวิจัยนี้พบว่า การสร้างวัดไทยในต่างประเทศนั้น ประเทศบ้านเกิดมีส่วนร่วม โดยเข้าร่วมด้วยความกระตือรือร้นและมีระบ ด้วยการใช้หน่วยงานภาครัฐทั้ง ในประเทศและนอกประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศตั้งถิ่นฐานใหม่ เช่น สถานเอกอัครราชทูต ซึ่งจากผล การศึกษาค้นคว้านี้ สามารถเน้นบทบาทหน้าที่ของประเทศบ้านเกิดที่เคยมองข้ามไปในงานวิจัยทฤษฎี ลักษณะข้ามชาติดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศเกาหลีส่วนใหญ่ เป็นแรงงานข้ามขาติ ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นฐานชั่วคราวที่มีความประสงค์จะกลับประเทศไทย เพราะฉะนั้น หลังจากผู้คนเหล่านี้กลับประเทศไทยแล้วอาจมีผลกระทบต่อสังคมไทย รัฐบาลไทยจึงมีส่วนร่วม ในงานต่าง ๆ โดยข้ามชาติ หน่วยงานภาครัฐไทยพยายามจะสร้างภาพลักษณ์ไทยที่ดีในประเทศ ตั้งถิ่นฐานใหม่ ควบคุมดูแลประชาชนในประเทศตั้งถิ่นฐานใหม่ รวมทั้งผู้ที่อาศัยอย่างผิดกฎหมาย ลูกหลานที่เป็นลูกครึ่งไทย-เกาหลีในครอบครัวพหุวัฒนธรรมได้เรียนรู้ระเบียบสังคมแบบไทย และสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย ฯลฯ โดยผ่านวัดไทยในประเทศเกาหลี ในส่วนที่ได้ศึกษาบทบาทหน้าที่ของวัดไทยนั้น ได้กล่าวถึงความพยายามในการสร้างเครือข่าย ที่ผ่านมางานวิจัยที่ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีลักษณะข้ามชาติดั้งเดิมนั้น เน้นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่าง ประเทศบ้านเกิดและประเทศตั้งถิ่นฐานใหม่เพียงเท่านั้น แต่จากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้รับรู้ว่า เมื่อวัดไทยในประเทศเกาหลีสร้างเครือข่ายกับวัดและพระสงฆ์ในต่างประเทศนอกเหนือจากประเทศไทย และแลกเปลี่ยนระหว่างกัน จึงจะสามารถพัฒนาวัดได้เร็ว ในส่วนนี้ไม่ได้ระบุเพียงเครือข่ายของวัดไทย ระหว่างประเทศเท่านั้น แต่กล่าวว่า เครือข่ายข้ามชาตินั้นอาจเกิดขึ้นได้ภายในประเทศใดประเทศเดียว เมื่อกลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานที่มาจากหลายชาติสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยใช้มูลฐานทางวัฒนธรรม ภายใต้ศาสนาพุทธร่วมกัน สุดท้ายนี้ ในส่วนที่ได้ศึกษากลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานได้ผลการศึกษาวิจัยว่า กลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานมีบทบาท หน้าที่เป็นผู้เข้าร่วมงานกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด แต่ยังไม่ได้เป็นผู้วางแผนที่มีความเป็นผู้นำ ทั้งนี้อาจเป็น เพราะผู้ย้ายถิ่นฐานจะอยู่ชั่วคราว และคนเข้าวัดส่วนใหญ่อยู่ในชนชั้นทางสังคมที่ใกล้เคียงกัน แต่เดิมในงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีลักษณะข้ามชาติศึกษากรณีกลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานที่เข้าร่วมงานกิจกรรมทางศาสนาในทวีปอเมริกา และได้ข้อสรุปว่า ผู้ย้ายถิ่นฐานสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์และทุนทางสังคมได้ จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และสิ่งเหล่านั้นมีผลที่ดีต่อการเข้าชนชั้นที่สูงกว่าได้ นอกจากนี้แล้ว ศาสนาของผู้ย้ายถิ่นฐานจะเป็นรากฐานของการแสดงความคิดทางการเมืองของกลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานได้ โดยเฉพาะในงานวิจัยที่ศึกษากรณีกลุ่มคนไทยในอเมริกาเหนือได้อธิบายลักษณะพิเศษของกลุ่มคนไทยว่า มีความเป็นผู้นำและอยู่ชนชั้นทางสังคมค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มคนลาวหรือกัมพูชา แต่กลุ่มคนไทยที่เข้าวัดในเกาหลีกลับตรงกันข้าม เพราะกลุ่มคนไทยในประเทศเกาหลี ประกอบด้วยแรงงานไร้ฝีมือเป็นส่วนใหญ่ และกลุ่มผู้หญิงไทยที่ย้ายถิ่นฐานจากการแต่งงานมีเป็นส่วนน้อย ซึ่งกลุ่มคนไทยในประเทศเกาหลีเป็นชนชั้นที่เปราะบาง จึงยังไม่สามารถวางแผนหรือทำหน้าที่ ด้วยความเป็นผู้นำได้ อย่างไรก็ดีวัดไทยในประเทศเกาหลีเพิ่งก่อตั้งขึ้นไม่นานมานี้ บทบาทหน้าที่ของ กลุ่มผู้ย้ายถิ่นฐานในอนาคตต่อไปนั้น อาจจะขยายขึ้นกว่าปัจจุบันนี้ก็ได้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น งานวิจัยนี้พยายามศึกษาค้นคว้าลักษณะข้ามชาติที่ปรากฏผ่านวัดไทย ในประเทศเกาหลี ถึงแม้ว่า จะพยายามศึกษาค้นคว้าโดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมและมองภาพรวม เพื่อเพิ่มเติมทฤษฎีลักษณะข้ามชาติที่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิธีการศึกษามาก่อน แต่งานวิจัยนี้ ก็ยังมีข้อบกพร่องเหมือนงานวิจัยดั้งเดิมที่ว่า เป็นกรณีศึกษาที่ลงภาคสนามในประเทศที่ผู้ย้ายถิ่นฐาน ตั้งถิ่นฐานใหม่ แต่ผู้ดำเนินงานวิจัยเรื่องนี้ จะใช้งานวิจัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นแล้วศึกษาวัดไทยในประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความน่าเชื่อถือให้กับผลการศึกษาที่ได้จากครั้งนี้

免费论文题目: